นักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 2/5 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองสตูล
YaIMaI
01 February 2013
การใช้กิจกรรมเล่านิทานประกอบหนังตะลุงเพื่อพัฒนาคุณธรรมด้านความมีวินัย และความรับผิดชอบของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 2/5 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองสตูล
นักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 2/5 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองสตูล
03 September 2012
19 November 2008
คู่มือใช้งาน Power Director
คู่มือการใช้งานชุดนี้ จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเป็นแนวทางในการใช้งานโปรแกรม Power Director 5 NE (สำหรับใครที่ใช้งานเวอร์ชั่น 3Express อยู่ก็สามารถใช้อ้างอิงได้) โดยคู่มือชุดนี้จะเน้นเฉพาะการใช้งานในส่วนต่างๆ ของโปรแกรมที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้งานร่วมกับกล้อง วิดีโอ Everio ของ JVC เท่านั้น สำหรับส่วนอื่นๆ ของโปรแกรมที่นอกเหนือจากคู่มือฉบับนี้ผู้ใช้งานสามารถดูได้จาก User guideของโปรแกรม โปรแกรม Power Director 5NE เป็นเวอร์ชั่นพิเศษที่ทำขึ้นเพื่อจำหน่ายไปพร้อมกับกล้องวิดีโอ Everio ของ JVC เท่านั้น สำหรับเวอร์ชั่นเต็มคือ Power Director 5 นั้นสามารถหาซื้อได้จากร้านจำหน่ายซอร์ฟแวร์ทั่วไปหรือทางเว็บไซต์
เตรียมพร้อมก่อนการทำงาน
ก่อนที่จะเริ่มใช้งาน Power Director สิ่งสำคัญที่จะต้องเตรียมพร้อมก่อนที่จะทำงานมีดังนี้
1. ให้ทำการโหลดไฟล์วิดีโอ (ไฟล์ .MOD ที่อยู่ในโฟลเดอร์ SD_VIDEO/PRGxxx) จากกล้อง Everio, ไฟล์ภาพนิ่ง, ไฟล์เสียงต่างๆ (ถ้าต้องการใส่ภาพนิ่งและเสียงต่างๆ รวมอยู่ในวิดีโอที่จะทำด้วย) มาเก็บไว้ที่คอมพิวเตอร์ก่อน
2. ในฮาร์ดดิสก์ที่โปรแกรมติดตั้งอยู่ (ส่วนใหญ่จะเป็นไดร์ฟ C) จะต้องทำให้มีพื้นที่ว่างอย่างน้อย 5 GB สำหรับการทำ DVD และ 1 GBสำหรับการทำ VCD
3. ปิดโปรแกรมต่างๆ ที่มีการทำงานอยู่ตลอดเวลาเช่น โปรแกรม Antivirus, โปรแกรม Chat ต่างๆ เป็นต้นเมื่อเตรียมทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็พร้อมที่จะทำงานแล้ว
ส่วนต่างๆ ของ Power Director
โปรแกรม Power Director เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูงพอสมควรสำหรับการสร้างสรรค์งานวิดีโอ ซึ่งส่วนการทำงานต่างๆ ของโปรแกรมนั้นมีดังนี้
1. Capture คือส่วนการทำงานสำหรับการแคปเจอร์ (การที่โปรแกรมทำการโหลดข้อมูลวิดีโอ, เสียง แล้วสร้างให้ออกมาเป็นไฟล์ข้อมูลที่จะทำโปรแกรมในคอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานได้) ภาพวิดีโอหรือเสียงจากสื่อต่างๆ ซึ่งรองรับกับการ์ด วิดีโอ/ออดิโอ แคปเจอร์ต่างๆ อย่างหลากหลาย
2. Edit ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดของโปรแกรม และก็จะเป็นส่วนที่จะกล่าวถึงมากที่สุด ส่วนนี้นั้นจะเป็นส่วนสำหรับการเติมแต่ง/ตัดทอนวิดีโอของเราให้เป็นไปตามที่ต้องการ
3. Produce คือส่วนที่จะทำการเข้ารหัสข้อมูลวิดีโอที่เราทำในส่วน Edit ให้ออกมาเป็นไฟล์วิดีโอที่ใช้งานในคอมพิวเตอร์ หรือจะเอาไปสร้างเป็นแผ่น DVD Video, VCD หรือจะเอาไปทำอย่างอื่นก็สุดแล้วแต่เราจะดำเนินการต่อไป
4. Burn ส่วนนี้จะเป็นส่วนของการสร้างแผ่นวิดีโอดิสก์ แต่สำหรับเวอร์ชั่นที่มาพร้อมกับกล้อง Everio นั้นไม่สามารถใช้งานส่วนนี้ได้
รายละเอียดของส่วนต่างๆ ข้างบน เป็นไปตามรูปในหน้าถัดไป
เมื่อรู้จักกับส่วนต่างๆ ของโปรแกรมในโหมด Edit แล้ว ต่อไปเราจะมาดูกันถึงการแก้ไข (ต่อไปขอใช้คำว่า “ตัดต่อ” นะเพราะเป็นคำที่เข้าใจง่ายและค่อนข้างคุ้นเคยกัน) วิดีโอ, ภาพนิ่ง, เสียง, ข้อความ และเอฟเฟคต่างๆ ที่จะทำให้วิดีโอของเราดูแล้วเป็นมืออาชีพมากขึ้น หรือพูดง่ายๆ คือทำให้มันดูเหมือนกับแผ่นหนังที่เราซื้อมาดู ขั้นตอนการทำงานสำหรับการตัดต่อวิดีโอเป็นดังนี้
1. โหลดไฟล์วิดีโอ, ภาพนิ่ง และเสียง เพื่อให้มาอยู่ในบริเวณ Media library
2. สำหรับไฟล์วิดีโอและภาพนิ่ง ให้คลิกเลือกไฟล์ที่ต้องการที่อยู่ใน Media library แล้วลากไฟล์นั้นๆ ลงมาวางในช่องบนสุดของMedia tracks
3. ถ้าต้องการแทรกเสียงต่างๆ (อาจจะเป็นเสียงเพลง เสียงบรรยาย เป็นต้น) เข้าไปในวิดีโอเราด้วย ก็ให้คลิกลากไฟล์เสียงลงมาวางในช่องที่ 3 และ 4 (นับจากด้านบน) โดยวางลงไปช่องไหนก็ได้
4. ถ้าต้องการแทรกอักษรต่างๆ เข้าไปด้วย ก็ทำได้โดยการ คลิกที่ปุ่ม Titles (ปุ่มฟังก์ชั่นรูปตัว T) จากนั้นก็คลิกเลือกแบบอักษรที่ต้องการที่โชว์อยู่ใน Media library ลากลงมาวางในช่องที่สองของ Media tracks
5. จากนั้นก็ทำการแก้ไขส่วนต่างๆ ตามที่ต้องการ ซึ่งจะกล่าวต่อไปเป็นส่วน
หลังจากที่โหลดไฟล์ต่างๆ มาเรียบร้อยแล้ว และได้รู้จักวิธีการปรับมุมมองของ Media library แล้ว ต่อไปเราก็จะมาเริ่มส่วนของการตัดต่อกันจริงๆ แล้วครับ โปรแกรม Power Director เวอร์ชั่นที่มาพร้อมกับกล้อง Everio นั้นถึงแม้ว่าจะมีประสิทธิภาพค่อนข้างจำกัดแต่ก็เพียงพอที่จะทำงานได้ค่อนข้างดีทีเดียวครับ ในการตัดต่อวิดีโอนั้นส่วนสำคัญที่สุดก็คือส่วนของ Media tracks ซึ่งประกอบไปด้วยช่อง (Track) สำหรับภาพนิ่งและภาพวิดีโอ (ช่องบนสุด), ช่องสำหรับใส่ข้อความแทรก (Titles) (ช่องที่สองนับจากด้านบนลงไป), ช่องสำหรับใส่ไฟล์ที่เกี่ยวกับเสียงมีสองช่อง (ช่องที่สามและสี่ ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนกันทุกประการ) และในบริเวณนี้ก็จะมีส่วนของเส้นเวลา(Time line) และจะมีไสลต์บาร์ที่เอาไว้สำหรับเลื่อนดูภาพที่จะแสดงให้เห็นตรงบริเวณ Preview windows
ขั้นตอนการทำงานมีดังนี้
1. คลิกที่คลิปไฟล์ใน Media library ตามที่ต้องการ จากนั้นลากไฟล์นั้นลงมาวางในช่องแต่ละช่องด้านล่าง
2. สำหรับช่อง Videos/Pictures สามารถจะใส่ไฟล์ได้ไม่จำกัด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรจะกำหนดเวลาให้เหมาะกับการทำวิดีโอหนึ่งเรื่องข้อควรระวัง ถ้าใส่คลิปวิดีโอ/ภาพนิ่ง เข้าไปมากๆ การประมวลผลของคอมพิวเตอร์จะหนักมาก ซึ่งส่งผลให้คอมพิวเตอร์จะช้ามากขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งอาจจะทำให้คอมพิวเตอร์แฮงค์ได้ หรือบางครั้งโปรแกรมจะแฮงค์แล้วปิดตัวเองไปเลย
3. ที่ Time line สามารถที่จะปรับเวลาให้หยาบหรือระเอียดได้ตามต้องการ โดยให้เลื่อนไปอยู่บริเวณ Time line จุดไหนก็ได้แล้วเมาท์จะเปลี่ยนเป็นรูปลูกศร ซ้าย-ขวา จากนั้นก็คลิกเมาท์ค้างไว้แล้วลากไปทางซ้ายเพื่อปรับเวลาให้หยาบขึ้น และลากไปทางขวาเพื่อปรับเวลาให้ละเอียดขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการตัดต่อคลิปวิดีโอ/ภาพนิ่ง
4. ต่อไปก็จะเป็นขั้นตอนสำคัญคือ การตัดทอน/เสริม บางส่วนในคลิปต่างๆ และรวมทั้งการใส่เอฟเฟคต่างๆ เพิ่มเข้าไป เดี๋ยวไปดูในขั้นตอนถัดไป
ขั้นตอนการตัดต่อคลิปวิดีโอ (การกำหนด Chapter (ตอนย่อยๆ ของวิดีโอ))
คราวนี้ก็ขั้นตอนสุดท้ายของการตัดต่อวิดีโอแล้วครับ ข้นตอนนี้ก็คือการกำหนด Chapter (ขั้นตอนจะทำหรือไม่ก็ได้) หรือการกำหนดให้วิดีโอของเราแบ่งออกเป็นตอนย่อยๆ หลายตอนคล้ายกับการกำหนดบทในหนังที่เราอ่านนั่นแหละครับ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้นเวลาที่นำวิดีโอที่ทำเสร็จแล้วไปเล่น แต่ถ้ายังนึกไม่ออกว่ามันเป็นอย่างไรก็ลองนึกถึงแผ่นดีวีดีหนังที่เราซื้อมาดู ในตอนเริ่มต้นที่เล่นจะตอนย่อยๆ ให้เราเลือกเล่นได้อย่างอิสระ พอเข้าใจแล้วคราวนี้เราก็มาเข้าเรื่องกันเลยครับ ขั้นตอนการทำก็ไม่ยากขั้นตอนเป็นดังต่อไปนี้
1. คลิกทีปุ่มฟังก์ชั่น Chapter ( ปุ่มฟังก์ชั่นที่อยู่ด้านซ้ายล่างสุด) จากนั้นส่วนการเซ็ทค่า Chapter ก็จะปรากฏขึ้นดังรูป
2. ทำการเซ็ท Chapter ตามที่ต้องการ
Producing video
หลังจากที่เราใช้เวลาไปพักใหญ่กับการนั่งหลังขดหลังแข็งกับการตัดทอน ตกแต่ง จนเป็นที่หนำใจแล้วกับ Home video ของเราต่อไปก็เป็นขั้นตอนสำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งก่อนที่เราจะไฟล์วิดีโอตามที่เราได้ทำเอาไว้ก่อนหน้านี้เพื่อที่จะนำไปไรท์ให้เป็นแผ่นวิดีโอ-ดิสก์ หรือจะเอาไปทำอย่างอื่นก็สุดแล้วแต่เราจะจัดการกับมัน ขั้นตอนนี้จะเรียกว่า Rendering แต่ผมขอใช้คำว่าการเข้ารหัสไฟล์วิดีโอแล้วกัน เพราะว่าดูแล้วค่อนข้างตรงกับกระบวนการทำงานของขั้นตอนนี้ กระบวนการทำงานส่วนนี้จะอยู่ในโหมด Produce ซึ่งภายใน
โหมดนี้จะประกอบไปด้วย
1. Create a file คือการสร้างให้เป็นไฟล์วิดีโอเพื่อที่จะเอาไปใช้ประโยชน์ตามที่ต้องการในแบบต่างๆ ต่อไป
2. Create a Streaming file คือการสร้างให้เป็นไฟล์วิดีโอคลิปแบบ MPEG4 เพื่อใช้ประโยชน์ในการส่งข้อมูลผ่านระบบ Internet
3. Make a Disc คือการสร้างให้เป็นแผ่นวิดีโอดิสก์โดยการลิงค์ไปที่โปรแกรม Power Producer สำหรับการทำงานในโหมดนี้
รายละเอียดของส่วนต่างๆ ในโหมด Produce นั้นเป็นดังรูปด้านล่าง
ส่วนต่างๆ ของโปรแกรมในโหมด Produce
Produce - Create a File
การสร้างไฟล์เพื่อเอาไว้สำหรับเล่นในคอมพิวเตอร์หรือเพื่อที่จะเอาใช้สำหรับสร้างให้เป็นแผ่นวิดีโอดิสก์ด้วยโปรแกรมใดๆ ก็ได้
ก็ให้เลือกที่ Create a File ใน Step 1 แล้วคลิกที่ปุ่ม Next แล้วก็จะมาสู่ขั้นตอนที่สอง ซึ่งจะมีส่วนต่างให้เลือกดังต่อนี้
1. เลือกประเภทของไฟล์ที่ต้องการคือ เลือก AVI ต้องการสร้างออกมาเป็นไฟล์วิดีโอตามมาตรฐาน DV Streaming file เลือกMPEG1 ถ้าต้องการสร้างเป็นไฟล์วิดีโอตามมาตรฐาน VCD และเลือก MPEG2 ถ้าต้องการสร้างให้เป็นไฟล์วิดีโอตามมาตรฐาน DVD Video
2. ที่ช่อง Profile type ก็ควรจะเลือกค่าที่ดีที่สุดตามที่โปรแกรมกำหนดเอาไว้ให้ แต่ถ้าหากใครที่รู้จักค่าต่างๆ ของระบบวิดีโอ
แบบต่างๆ แล้วต้องการกำหนดค่าต่างๆ เองก็ทำได้โดยกดที่ปุ่ม
3. ที่ช่อง Profile name ก็เลือกไว้ที่ค่า PAL ตามเดิมได้ เพื่อให้ตรงกับระบบของทีวีบ้านเรา
4. คลิกที่ปุ่ม Next เพื่อไปสู่ขั้นตอนถัดไป
5. ใน Step 3 คลิกที่ปุ่ม Start เพื่อเริ่มต้นการเข้ารหัสไฟล์แล้วรอจนกว่าจะเสร็จ
Produce - Create a Streaming File
สำหรับใครที่ต้องการสร้างไฟล์เพื่อเอาไว้สำหรับส่งเป็นไฟล์แนบไปกับ E-mail หรือเอาไปใช้งานในเว็บไซต์ที่มีการโหลดไฟล์
วิดีโอต่างๆ ก็ให้เลือกที่ Create a Streaming File ใน Step 1 แล้วคลิกที่ปุ่ม Next แล้วก็จะมาสู่ขั้นตอนที่สอง ซึ่งจะมีส่วนต่างให้เลือกดังต่อนี้
1. เลือกประเภทของไฟล์ที่ต้องการคือ เลือก WMV ต้องการสร้างออกมาเป็นไฟล์วิดีโอตามมาตรฐาน Windows หรือเลือกReal Video ถ้าต้องการสร้างเป็นไฟล์วิดีโอตามมาตรฐาน McIntosh
2. ที่ช่องคุณสมบัติของไฟล์ เลือกอัตราบิทเรท (Bit rate) ตามที่ต้องการ
Note อัตราบิทเรทจะมีผลต่อความระเอียดของภาพและขนาดของไฟล์คือถ้าบิทเรทต่ำ ภาพก็จะมีความคมชัดต่ำ และไฟล์ก็จะขนาดที่เล็กด้วย
3. คลิกที่ปุ่ม Next เพื่อไปสู่ขั้นตอนที่สามซึ่งมีขั้นตอนการทำงานเหมือนกับที่กล่าวมาก่อนหน้านี้
สุดท้ายนี้คือตัวเลือกหนึ่งที่มีให้เลือกในโหมด Produce คือการสร้างวิดีโอที่เราได้ทำเอาไว้ก่อนหน้านี้แล้วให้เป็นแผ่นวิดีโอดิสก์สำหรับขั้นตอนนี้นั้นการทำงานส่วนใหญ่จะอยู่ในส่วนของโปรแกรม Power Producer ซึ่งการทำงานต่างๆ นั้นก็ให้ไปดูจากโปรแกรมนี้ส่วนของโปรแกรม Power Director นั้น มีขั้นตอนดังนี้
1. ใน Step 1 ของ Produce ให้เลือกที่ Make a Disc แล้วคลิกที่ปุ่ม Next
2. ใน Step 2 เลือกว่าจะสร้างออกมาเป็นอะไรในสามอย่าง คือ VCD, DVD หรือว่า SVCD
3. เลือกระบบของวิดีโอระหว่าง PAL หรือ NTSC และเลือกระดับคุณภาพของวิดีโอที่ช่อง Profile (ควรจะเลือกค่าที่ดีที่สุด)
4. คลิกที่ปุ่ม Continue authoring จากนั้นก็จะลิงค์ไปที่โปรแกรม Power Producer เพื่อกำหนดค่าต่างๆ สำหรับการสร้างให้เป็นแผ่นวิดีโอดิสก์ตามที่ต้องการต่อไปสำหรับขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ดูได้จากรูปหน้าถัดไป
เป็นไงกันบ้างครับกับการสร้างโฮมวิดีโอด้วยโปรแกรม Cyber Link Power Director กับประสิทธิภาพการทำงานที่คุ้มค่าเกินตัวสำหรับโปรแกรมที่ให้มาพร้อมกับกล้อง Everio ของ JVC แต่สำหรับใครที่ต้องการประสิทธิภาพที่มากกว่านี้ก็คงต้องพึ่งตัวเองแล้วอาจจะไปดาวน์โหลดเวอร์ชั่นเต็มมาลองใช้แล้วค่อยหาซื้อมาใช้งานกันจริงๆ จริงๆ ในภายหลังก็ได้ซึ่งปัจจุบันนี้โปรแกรม Power Director ก็พัฒนาไปจนถึงเวอร์ชั่น 7กันแล้ว ก็แน่นอนว่าคุณสมบัติอะไรหลายๆ อย่างก็มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นไปกว่าเดิมเยอะทีเดียวแต่ถ้าหากใครที่เห็นว่าโปรแกรมนี้ยังไม่ใช่คำตอบอันนี้ก็คงต้องไปหาโปรแกรมอื่นๆ มาทดลองใช้ดูแต่ที่สำคัญก็คือต้องรองรับไฟล์.MOD ของกล้อง Everio ด้วย สุดท้ายนี้ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกๆ คนคงจะสนุกกับการทำโฮมวิดีโอในวันหยุดพักผ่อนธรรมดาๆ ให้กลายเป็นวิดีโอที่มีสีสันเทียบชั้นงานระดับมืออาชีพเขาเลย
สมาชิกในกลุ่ม
นางสาวภัทริฌา สุวรรณมณี
นายธนากร ช่วยวงศ์
07 November 2008
+++การศึกษากับสื่อมัลติมีเดีย+++
1.1 การสื่อสารการเรียนรู้
การสื่อสาร หรือ การสื่อความหมาย (Communication) หมายถึง การถ่ายทอดเรื่องราว การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงออกของความคิดและความรู้สึก เพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกัน (กิดานันท์ มลิทอง, 2540) รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1) การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถตอบสนองทันที (Immediate Response) กับผู้ส่ง แต่อาจจะมีผลป้อนกลับไปยังผู้ส่งในภายหลังได้ การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้ส่งและผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที
2) การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมา โดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน
ดังนั้น ในการที่จะเกิดการเรียนรู้ขึ้นได้นี้ มักจะพบว่าต้องอาศัยกระบวนการของการสื่อสารในรูปแบบของการสื่อสารทางเดียวและการสื่อสารสองทาง ในลักษณะของการให้สิ่งเร้าเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีการแปลความหมายของเนื้อหาบทเรียนนั้น และให้มีการตอบสนองเพื่อเกิดเป็นการเรียนรู้ขึ้น ลักษณะของสิ่งเร้าและการตอบสนองในการสื่อสารนี้ หมายถึง การที่ผู้สอนให้สิ่งเร้าหรือส่งแรงกระตุ้นไปยังผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีการตอบสนองออกมา โดยผู้สอนอาจใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เป็นผู้ส่งเนื้อหาบทเรียน ส่วนการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ คำพูด การเขียน รวมถึงกระบวนการทั้งหมดทางด้านความคิด การเรียนรู้ การเรียนรู้ซึ่งอาศัยรูปแบบการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการให้สิ่งเร้าหรือแรงกระตุ้น การแปลความหมาย และการตอบสนองนั้น มีดังนี้
1) การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารทางเดียว เช่น การสอนแก่ผู้เรียนจำนวนมากในห้องเรียนขนาดใหญ่โดยการฉายวีดิทัศน์ โทรทัศน์วงจรปิด หรือวิทยุและโทรทัศน์การศึกษาแก่ผู้เรียนที่เรียนอยู่ที่บ้าน ซึ่งการเรียนการสอนในลักษณะเช่นนี้ควรจะมีการอธิบายความหมายของเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนเข้าใจก่อนการเรียน หรืออาจจะมีการอภิปรายภายหลังจากการเรียน หรือดูเรื่องราวนั้นแล้วก็ได้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและแปลความหมายในสิ่งเร้านั้นอย่างถูกต้องตรงกัน จะได้มีการตอบสนองและเกิดการเรียนรู้ได้ในทำนองเดียวกัน
2) การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารสองทาง อาจทำได้โดยการใช้อุปกรณ์ประเภทเครื่องช่วยสอน เช่น การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยหรือการใช้เครื่องช่วยสอน เนื้อหาจะถูกส่งจากเครื่องไปยังผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนทำการตอบสนองโดยส่งคำตอบหรือข้อมูลกลับไปยังเครื่องอีกครั้งหนึ่ง การเรียนการสอนในลักษณะนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น ความฉับพลันของการให้คำตอบจากโปรแกรมบทเรียนที่วางไว้เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้เรียน เป็นการทำให้ง่ายต่อการเรียนรู้และทำให้การถ่ายทอดความรู้บรรลุผลด้วยดี เป็นต้น
ถึงแม้ว่าการเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารสองทางนี้จะมีประสิทธิภาพดีต่อการเรียนรู้มากกว่าการสื่อสารทางเดียวก็ตาม แต่บางครั้งแล้วในลักษณะของการศึกษาบางอย่างมีความจำเป็นต้องใช้การเรียนการสอนในรูปแบบการสื่อสารทางเดียว เพื่อการให้ความรู้แก่ผู้เรียน ทั้งนี้เพราะจำนวนผู้เรียนอาจจะมีมาก และมีอุปกรณ์ช่วยสอน ไม่เพียงพอ เป็นต้น
1.2 สื่อการเรียนรู้
กิดานันท์ มลิทอง (2540) กล่าวว่า สื่อนับว่าเป็นสิ่งที่มีบทบาทอย่างมากในการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกับที่ผู้สอนต้องการ การใช้สื่อการสอนนั้นผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงลักษณะเฉพาะ และคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิดเพื่อเลือกสื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การสอน และสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ แผนภูมิ ภาพนิ่ง ฯลฯ ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ได้เป็นอย่างดี
เอดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้ และการใช้สื่อแต่ละประเภทในกระบวนการเรียนรู้ด้วย โดยพัฒนาความคิดของ Bruner ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา นำมาสร้างเป็น “กรวยประสบการณ์” (Cone of Experiencess) โดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
1) ประสบการณ์ตรง โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง และการเห็น เป็นต้น
2) ประสบการณ์รอง เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้
3) ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เนื่องจากข้อจำกัดด้วยยุคสมัยเวลา และสถานที่ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม เป็นต้น
4) การสาธิต เป็นการแสดงหรือการทำเพื่อประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น
5) การศึกษานอกสถานที่ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่ การสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ เป็นต้น
6) นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้สาระประโยชน์แก่ผู้ชม โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างผสมผสานกันมากที่สุด
7) โทรทัศน์ โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน
8) ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู
9) การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง อาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์ ข้อมูลที่อยู่ในขั้นนี้จะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนที่ถึงแม้จะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้
10) ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่าง ๆ
11) วจนการใช้กรวยประสบการณ์ของเดลจะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอยู่ในเหตการณ์หรือการกระทำจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้นต่อไปของการได้รับประสบ-การณ์รอง ต่อจากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ด้วยการรับประสบการณ์โดยผ่านสื่อต่างๆ และท้ายที่สุดเป็นการให้ผู้เรียนเรียนจากสัญลักษณ์ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
สัญลักษณ์ ได้แก่ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูด
ที่มา :: http://goleng23.multiply.com/journal